Linux พื้นฐานเบื้องต้น

คำสั่ง Unix – Linux Command

Unix Command , Linux Command

ข้อมูลต่อไปนี้เป็น คู่มือการใช้งานคำสั่งพื้นฐาน ที่ทำงานบนระบบ Unix และ Linux  ผ่าน shell เพื่อใช้งานคำสั่ง Unix – Linux Command บางคำสั่ง Linux Command อาจจะต้องใช้ user root เพราะเป็นคำสั่งที่อันตรายเนื่องจากเกี่ยวข้องกับ file system หรือ security ท่านสามารถอ่านบทความเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่ไม่ทราบว่า Unix คืออะไร หรือ Linux คืออะไร เพื่อการใช้งาน Linux Command ที่เข้าใจมากขึ้น

ลำดับคำสั่ง Unix – Linuxรายละเอียด
1adduser  ใช้เพิ่มหรือเปลี่ยนแปลง user บน linux
2arch  ใช้แสดงรุ่น hardware ของเครื่อง server
3awk  ใช้ค้นหาข้อมูล text ในรูปแบบที่ซับซ้อน
4basename  คำสั่งใช้แสดงเฉพาะส่วนของชื่อ filename
5bc  คำสั่งคำนวณตัวเลข ตามสูตรทางคณิตศาสตร์ 
6cal  คำสั่งแสดงปฏิทิน วันเดือนปี 
7cat  แสดงผลข้อมูลภายใน file ในรูปแบบ text
8chgrp  คำสั่งเปลี่ยนเจ้าของ group ของ file
9chmod  คำสั่งเปลี่ยนสิทธิ์ในการเข้าถึง file
10chown  คำสั่งเปลี่ยนเจ้าของ file หรือ directory
11cksum  คำสั่งนับจำนวน bytes ของ file
12clear  คำสั่งล้างหน้าจอ screen
13cmp  คำสั่งวิเคราะห์เปรียบเทียบ files ในระดับ bytes
14comm  คำสั่งวิเคราะห์เปรียบเทียบ file ที่ละบรรทัด
15cp  คำสั่งทำสำเนาหรือ copy ข้อมูล
16cron  ควบคุมการเริ่มทำงานของ job schedule
17crontab  ใช้ตั้งเวลาให้คำสั่งเริ่มทำงานตามที่ต้องการ
18csplit  คำสั่งแตก file ตามจำนวนบรรทัด
19cut  คำสั่งตัดข้อมูล file เป็น field column
20date  คำสั่งแสดงเวลาวันเดือนปี 
21dc  คำสั่งเครื่องคิดเลขแบบตั้งโต๊ะ
22dd  คำสั่ง backup ข้อมูลใน harddisk
23df  คำสั่งแสดงข้อมูลพื้นที่ disk ทั้งหมด
24diff  คำสั่งวิเคราะห์เปรียบเทียบ file ทีละบรรทัด
25dir  คำสั่งแสดงข้อมูล directory
26dircolors  คำสั่งที่ใช้ในการปรับสีของผลลัพธ์ ls
27dirname  คำสั่งแสดงชื่อ directory ของ file
28du  คำสั่งดูข้อมูลรายละเอียดขนาด file
29echo  คำสั่งในการแสดงผลบนหน้าจอ screen
30ed  คำสั่ง editor file ชนิดหนึ่ง
31egrep  คำสั่งค้นหาบรรทัดใน file ที่ตรงเงื่อนไข
32env  คำสั่งสร้าง environment ในการ run program
33expand  คำสั่งเปลี่ยนข้อมูล file จาก tab เป็น space
34expr  คำสั่งที่ใช้ประมวลผลตรรกะคณิตศาสตร์ 
35factor  คำสั่งแยกตัวประกอบทางคณิตศาสตร์ 
36fdisk  คำสั่งบริหารจัดการ disk partition
37find  คำสั่งใช้ในการค้นหา file หรือ directory
38fmt  คำสั่งจัดเรียงข้อมูลภายใน file ในรูป format
39fold  คำสั่งจัดเรียงความยาวตัวอักษรแต่ละบรรทัด
40free  คำสั่งแสดงข้อมูลการใช้งาน memory
41fsck  คำสั่งตรวจสอบและซ่อมแซม file system
42gawk  ใช้ค้นหาข้อมูล text ในรูปแบบเดียวกับ awk
43grep  คำสั่งค้นหาบรรทัดใน file ที่ตรงเงื่อนไข
44groups  คำสั่งแสดงข้อมูล group ของ system user
45gunzip  คำสั่งยกเลิกการบีบอัดข้อมูล file
46gzip  คำสั่งบีบอัดข้อมูล file หรือ การ zip file
47head  คำสั่งแสดงข้อมูลบางส่วนภายใน file
48hostname  คำสั่งแสดงข้อมูลชื่อของเครื่อง server
49id  คำสั่งแสดงข้อมูล user, group ในระบบ
50ifconfig  คำสั่งแสดงข้อมูลและเปลี่ยนค่า interface server
51info  คำสั่งข้อมูลโปรแกรมบนระบบทั้งหมดที่ใช้งาน
52iptables  คำสั่งจัดการกรอง ip port ที่เข้ามาใช้งาน
53join  คำสั่งเชื่อมข้อมูล 2 file ด้วย field ที่เหมือนกัน
54kill  คำสั่งส่ง Signal หรือยกเลิกการทำงาน process
55less  คำสั่งอ่านข้อมูลและค้นหาข้อมูลใน file
56ln  คำสั่งสร้าง link เชื่อมโยงกันระหว่าง file
57locate  คำสั่งใช้ในการค้นหา file หรือ directory
58logname  คำสั่งแสดงชื่อ user login
59ls  คำสั่งแสดงข้อมูลภายใน directory
60man  คำสั่งแสดงคู่มือการใช้งาน program
61mkdir  คำสั่งสร้าง directory
62more  คำสั่งอ่านข้อมูลและค้นหาข้อมูลใน file
63mount  คำสั่งติดตั้งใช้งานอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ
64mv  คำสั่งย้ายตำแหน่ง file หรือ directory
65netstat  คำสั่งแสดงสถานะ network connection ทั้งหมด
66nice  คำสั่งจัดลำดับความสำคัญของ process
67nl  คำสั่งแสดงเลขที่บรรทัดของข้อมูลใน file
68nohup  คำสั่งป้องกันการหยุดของ background process
69passwd  คำสั่งเปลี่ยน password ของ System user
70paste  คำสั่งเชื่อมข้อมูลที่ละบรรทัดจากหลาย file
71pathchk  คำสั่งเช็ก path ในระบบว่ามีถูกต้อง
72ping  คำสั่งตรวจสอบสถานะ server ปลายทาง
73pr  คำสั่งแสดงข้อมูลภายใน file ในรูปแบบสิ่งพิมพ์ 
74printf  คำสั่งแสดงผลข้อมูลบนหน้าจอ screen
75ps  คำสั่งแสดง process ที่ทำงานใน server
76pwd  คำสั่งแสดง directory หรือ path ที่อยู่ปัจจุบัน
77rcp  คำสั่งคัดลอก file ข้ามเครื่อง server
78rm  คำสั่งลบ file หรือ directory
79rmdir  คำสั่งลบ directory
80rsync  คำสั่ง sync ข้อมูล file ระหว่าง server
81screen  คำสั่งสร้าง session screen ขึ้นมาใหม่อีกจอ
82sdiff  คำสั่งวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูล file ทีละบรรทัด
83sed  คำสั่งเปลี่ยนแปลงข้อมูล text ที่มีรูปแบบซับซ้อน
84seq  คำสั่งแสดงเลข sequence number
85shutdown  คำสั่งปิดการทำงานของระบบ
86sleep  คำสั่งหน่วงเวลา
87sort  คำสั่งในการจัดเรียงข้อมูล file ทีละบรรทัด
88split  คำสั่งแตก file ตามจำนวนบรรทัด
89su  คำสั่ง login ด้วย user id อื่น
90sum  คำสั่งการตรวจสอบ checksum และ ขนาด block
91sync  คำสั่งเขียนข้อมูล memory ลง disk
92tac  คำสั่งแสดงข้อมูลใน file แบบกลับหลัง
93tail  คำสั่งแสดงข้อมูลบางส่วนภายใน file
94tar  คำสั่งจัดเก็บรวบรวม file ข้อมูล
95tee  คำสั่งอ่านข้อมูลพร้อมกับเขียนข้อมูลลง file
96time  คำสั่งจับเวลาการทำงาน process
97top  คำสั่งจัดเรียงอันดับแสดงการทำงานของ process
98touch  คำสั่งเปลี่ยนแปลง file timestamps
99tr  คำสั่งค้นหาและเปลียนแปลงข้อมูล text
100traceroute  คำสั่งแสดงเส้นทางการทำงาน network
101tsort  คำสั่งจัดเรียงข้อมูลแบบ topological
102tty  คำสั่งแสดงชนิดของ terminal ที่ใช้งาน
103uname  คำสั่งแสดงชื่อระบบของ server
104unexpand  คำสั่งเปลี่ยน space เป็น tab
105uniq  คำสั่งในการจัดเรียงข้อมูลแบบไม่ซ้ำกัน
106units  คำสั่งในการแปลงค่าหน่วยวัด
107useradd  คำสั่งสร้าง user และจัดการ user บนระบบ
108userdel  คำสั่งลบ user ออกจากระบบ
109usermod  คำสั่งเปลี่ยนแปลงข้อมูลของ user
110vdir  คำสั่งแสดงข้อมูล directory
111w  คำสั่งแสดง user ที่ login รวมถึงคำสั่งที่ใช้งาน
112watch  คำสั่ง monitor process ที่ทำงานอยู่ 
113wc  คำสั่งนับจำนวนคำและบรรทัดจาก file
114whereis  คำสั่งค้นหาตำแหน่ง file program
115which  คำสั่งตำแหน่ง file program
116who  คำสั่งแสดงข้อมูล user ที่ login ขณะนั้น
117whoami  คำสั่งแสดงชื่อ user ที่ใช้ login
118xargs  สร้างคำสั่งใหม่จาก ouput ที่ได้ก่อนหน้า
119yes  คำสั่งแสดงข้อมูล text ที่ต้องการวนซ้ำไปเรื่อยๆ
120nano  คำสั่งในการสร้างหรือแก้ไข file ข้อมูล text
121vi  คำสั่งในการสร้างหรือแก้ไข file ข้อมูล text
122telnet  คำสั่งโปรโตรคอลเชื่อมต่อสื่อสารด้วยข้อมูลตัวอักษร
123ssh  คำสั่งเชื่อมต่อ shell server แบบเข้ารหัสความปลอดภัย
124scp  คำสั่งคัดลอก file ข้อมูลแบบเข้ารหัสความปลอดภัย
คำสั่งพื้นฐานของ Unix Command หรือ Linux Command เหล่านี้มักถูกนำเอาใช้เขียน Shell script หรือชุดคำสั่ง program ทำให้ผู้ใช้งานทำงานได้สะดวกมากขึ่น อีกทั้งลดระยะเวลาการทำงานได้อย่างมาก ซึ่งสามารถอ่านบทความวิธีเขียน Shell script ได้ที่นี่ การเขียน Shell Script เบื้องต้น หลักการทำงาน และ เงื่อนไขการใช้

ตัวอย่าง 

1. คำสั่ง `reboot` command
ตัวอย่าง : ex@server:~# reboot มีคำสั่งในฐานะ root ดังนี้
1.1 reboot = ต้องการให้รีบูต
1.2 sudo reboot = ต้องการให้รีบูต (เมื่อต้องการออกคำสั่งในฐานะ Super user)

2. คำสั่ง `Shutdown` command
ตัวอย่าง : ex@server:~# shutdown (เพิ่ม sudo นำหน้าเมื่อต้องการออกคำสั่งในฐานะ Super user) มีคำสั่งในฐานะ root ดังนี้
2.1 shutdown = ปิดใน 1 นาที
2.2 shutdown -now = ต้องการให้ปิดเลย
2.3 shutdown +5 = ต้องการให้อีก 5 นาทีปิด
2.4 shutdown 11.30 = ต้องการให้ปิดในเวลาที่กำหนด
2.5 shutdown -r = ต้องการให้รีบูตหลังจากปิด (เพิ่มเวลาเมื่อต้องการรีบูตหลังปิดเครื่อง 5 นาที = shutdown -r +5 
2.6 shutdown -c = ยกเลิกการปิด

Reference

ความคิดเห็น